วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระงานที่ 1



ภาระงานที่ 1 :  การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ( content analysis )

ชื่อบทเรียน  คำคล้องจอง


หัวข้อเนื้อหา / วัตถุประสงค์การเรียนรู้
รายละเอียดของเนื้อหา
หัวข้อเนื้อหา
1 . ความหมายของคำคล้องจอง
2 . คำคล้องจอง 1 พยางค์
3 . คำคล้องจอง 2 พยางค์



วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อผู้เรียนเรียนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์หัวข้อเนื้อหานี้แล้ว   ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าคำคู่ใดเป็นคำคล้อง
จองหรือไม่ใช่คำคล้องจอง  เมื่อกำหนดคำให้ นักเรียนสามารถหาคำคล้องจองกับคำที่กำหนดให้ต่อไปได้



1 .  คำคล้องจอง คือ คำที่มีเสียงพยัญชนะ หรือเสียงสระคล้องจองกัน เช่น คำที่มีเสียงสระคล้องจองกัน ตา มา ปา ทา, ดู รู สู้ หู, คำที่มีเสียงพยัญชนะคล้องจองกัน หนู หมู หรู หมี, โคลง คลอน คลาด
และหากมีตัวสะกดมักจะมีเสียงตัวสะกดอยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น การ งาน  จาน หาร
 2 .คำคล้องจอง ๑ พยางค์ คือ คำ ๑ พยางค์ ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปที่มีเสียงสระเดียวกันและมีตัวสะกดในมาตรา เดียวกัน เช่น ใกล้ ใคร ใช่ ไป ให้  ถู หู ดู ชู รู
3 . คำคล้องจอง ๒ พยางค์ คือ คำ ๒ พยางค์ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปที่พยางค์หลังของคำแรก มีเสียง
คล้องจองกับพยางค์แรกของคำหลัง หรือมีเสียงคล้องจองกับพยางค์หลังของคำหลัง เช่น ปลูกข้าว สาวสวย ห้วยหนอง คลองบึง ผึ้งหลวง ทวงของ




สรุปการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


การสอน/การทบทวน (tutorial instruction) 

บทเรียนประเภทนี้ เป็นรูปแบบของบทเรียนช่วยสอนด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนากันมากที่สุด ประมาณกันว่ามากกว่าร้อยละ 80 ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ทั่วโลกจะเป็นประเภทนี้เนื่องจากมีพื้นฐานการพัฒนาขึ้นจากความเชื่อที่ว่า คอมพิวเตอร์น่าจะเป็นสื่อประเภทอุปกรณ์ที่ช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการเรียนจากชั้นเรียน กล่าวโดยสรุปก็คือ น่าจะใช้แทนครูได้ในหลายๆ หมวดวิชา แนวคิดตรงนี้มีพื้นฐานในมุมกว้างว่า การเรียนการสอนนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรืออุดมศึกษาเท่านั้น แต่ยังขยายกว้างไปถึงการฝึกอบรม (Training) ในระดับและสาขาอาชีพต่างๆ ซึ่งอาจผสมผสานการสอน การเรียนรู้และการฝึกฝนด้วยตนเองในหลายๆ รูปแบบ
วัตถุประสงค์เพื่อการสอนเนื้อหาใหม่แก่ผู้เรียน มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย มีคำถามในตอนท้าย ถ้าตอบถูกและผ่าน ก็จะเรียนหน่วยถัดไป โปรแกรมประเภท Tutorial นี้มีผู้สร้างเป็นจำนวนมากเป็นการนำเสนอโปรแกรมแบบสาขาสามารถสร้างเพื่อสอนได้ทุกวิชา

วิธีสอนโดยการทบทวน

ความมุ่งหมาย
-   เพื่อทบทวนบทเรียนให้เข้าใจง่าย
-   เพื่อสรุปประเมินผลความเข้าใจในบทเรียน
ขั้นตอนของการสอน
-    กล่าวถึงเนื้อหาของบทเรียนที่เรียนแล้ว
-    ตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียนที่ต้องการให้ทบทวน
-    ให้อภิปรายเพื่อค้นหาคำตอบสำหรับคำถาม ของเนื้อหาที่ต้องการให้ทบทวน
-    สรุปเพื่อตัดสินคำตอบเกี่ยวกับเนื้อหาที่ต้องการให้ทบทวน

ข้อดีและข้อจำกัดของการสอนโดยการทบทวน

ข้อดี
-  ช่วยให้นักศึกษาได้เห็นถึงความสัมพันธ์และความเกี่ยวข้องกันของเนื้อหาอย่างชัดเจน
-  ทำให้นักศึกษามีความคงทนมากขึ้น
-  เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับกิจกรรมในแต่ละวัน
-  เป็นเครื่องมือช่วยวัดจุดสำคัญของบทเรียน
-  เป็นการเชื่อมโยงเนื้อหาให้เกิดขึ้นในจิตใจ
-  ทำให้ตระหนักถึงความต้องการที่จะต้องศึกษามากยิ่งขึ้น

ข้อจำกัด
-  เป็นการอยากที่จะทำให้ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมได้
-  จะต้องมีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีหลายๆ อย่าง


สาระสำคัญของอีเลิร์นนิง


ความหมายโดยสรุป ของ E-learning 

การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน" โดยสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะ ดังนี้
-     เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
-     เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องการเนื้อหารายวิชาใด วิชาหนึ่งเป็นอย่างน้อย หรือการศึกษาตามอัธยาศัย
-     ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตนเอง จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
-     ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับ หรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
-     มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้
-     มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
-     มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
-     ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียน ในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บริการ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า E-learning เป็นระบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) ผู้เรียนเป็นผู้คิด ตัดสินใจเรียน โดยการสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่างๆ

ข้อดี - ข้อเสียของการเรียนการสอนผ่านเว็บ 

ข้อดี
-      เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
-      ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
-      ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
-      ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี
-      ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

ข้อเสีย
-    ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
-    ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตัวอย่างแผนประกอบการสอน




แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                                ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒                                ภาคเรียนที่ ๑                                                                                                           ปีการศึกษา ๒๕๕๔        
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๑  เรื่องคำแสนสนุก                                                                   เวลา  ๓ ชั่วโมง                
เรื่อง คำคล้องจอง                                                                                                     เวลา   ๑  ชั่วโ


มาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑  การอ่าน
มาตรฐาน ท. ๑.๑ : ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน                                                                                                        มาตรฐาน ท. ๒.๑: ใช้ทักษะการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆเขียนรายงานข้อมูลสาระสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด  มฐ.ท ๑.๑ ป.๒/๑      การอ่านออกเสียงคำ คล้องจอง และข้อความ และบทร้อยกรองง่ายๆได้ถูกต้อง
                มฐ.ท ๒.๑ ป.๒/๑      คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
                 
สาระสำคัญ     
คำคล้องจอง คือ คำที่ใช้สระเดียวกันและมีตัวสะกดอยู่มาตราเดียวกัน  แต่มีพยัญชนะต้นต่างกัน

จุดประสงค์
                ๑. สามารถอ่านและเขียนคำที่คล้องจองได้อย่างถูกต้อง
.เมื่อกำหนดคู่คำคล้องจองให้นักเรียนสามารถบอกได้ว่าคำคู่ใดเป็นคำคล้องจองหรือไม่ใช่คำคล้องจอง
.เมื่อกำหนดชุดคำคล้องจองให้นักเรียนสามารถโยงเส้นคำที่ส่งสัมผัสคล้องจองกันได้ถูกต้อง

สาระการเรียนรู้ / เนื้อหาสาระ
                  ๑ . ความรู้ ( K )

                        ๑ . สามรถอ่านและเขียนคำคล้องจองได้
๒. สามารถเรียนรู้คำคล้องจอง 1 พยางค์  2 พยางค์ และคำคล้องจองหลายพยางค์ได้
๒.     ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด(P)
                ๑.การอ่านและการเขียน
                       ๓. คุณลักษณะ(A)
                                ๑.สามารถอ่านและเขียนคำคล้องจองได้

สมรรถนะสำคัญ
                                ๑.มีความสามารถในการสื่อสาร
                                ๒.มีความสามารถในการคิด

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                ๑.มีวินัย
                                ๒.ใฝ่เรียนรู้
                                ๓.มุ่งมั่นในการทำงาน

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

วิธีวัดและเครื่องมือวัด

เป้ามายการเรียนรู้
หลักฐานผลการเรียนรู้
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
สาระสำคัญ
คำคล้องจอง  คือ คำที่ใช้สระเดียวกันและมีตัวสะกดอยู่มาตราเดียวกัน  แต่มีพยัญชนะต้นต่างกัน


-ผลการทดสอบการอ่านคำคล้องจอง

-ทดสอบการอ่านคำที่คล้องจอง

-แบบทดสอบการอ่านคำที่คล้องจอง
ตัวชี้วัด
มฐ.ท ๑.๑ ป.๑/๑  การอ่านออกเสียงคำ คล้องจอง และข้อความสั้น ๆ

-ผลการทดสอบอ่านคำจากบัตรคำ

-ครูฟังจากการอ่านของนักเรียน

-แบบทดสอบการอ่านคำจากบัตคำ และPowerPoint
มฐ.ท ๒.๑ ป.๑/๑   คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
-ผลการทดสอบการเขียนคำที่คล้องจอง
-ทดสอบโยงคำจากภาพที่มีคำคล้องจองกัน
-ทดสอบการเขียนคำที่คล้องจอง
-ทดสอบโยงคำจากภาพที่มีคำคล้องจองกัน
-แบบทดสอบการเขียนคำที่คล้องจอง
-แบบทดสอบโยงคำจากภาพที่มีคำคล้องจองกัน
คุณลักษณะ
๑.สามารถอ่านและเขียนคำที่คล้องจองได้อย่างถูกต้อง

-ผลการทดสอบอ่านคำจากบัตรคำ
                                     
- ผลการทดสอบเขียนคำที่คล้องจอง
-ผลการทดสอบโยงคำจากภาพที่มีคำคล้องจองกัน

-ครูฟังจากการอ่านของนักเรียน
-สอบการเขียนคำที่คล้องจอง

-ทดสอบโยงคำจากภาพที่มีคำคล้องจองกัน

-แบบทดสอบการอ่านคำจากบัตรคำ
-แบบทดสอบการเขียนคำที่คล้องจอง

-แบบทดสอบโยงคำจากภาพที่มีคำคล้องจองกัน


กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำสู่บทเรียน
๑.      ครูอธิบายจุดประสงค์ของการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนทราบถึงเนื้อหาสาระที่จะเรียน
๒.    ครูเปิดวิดีโอเรื่องคำคล้องจองให้นักเรียนดู
ขั้นการสอน
๑.      ครูเปิด PowerPointสอนนักเรียนอ่านคำคล้องจองทีละคำจากคำที่ง่ายไปหาคำที่ยาก แล้วให้นักเรียนอ่านคำตามที่ครูสอน
๒.    ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยให้แต่ละคนออกมาอ่านคำคล้องจองตามที่ครูกำหนดทีละคำ
ขั้นการประเมินผลการเรียนรู้ /  ขั้นสรุปการสอน
.ให้นักเรียนทำแบบทดสอบ
-แบบทดสอบอ่านคำจากบัตรคำ
-แบบทดสอบเติมคำที่หายไปให้สมบูรณ์
-แบบทดสอบโยงคำที่มีความหมายคล้องจองกัน
. ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งอินเตอร์เน็ต

สื่ออุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้
สื่อ
           ๑.บัตรคำ  คำคล้องจอง
          ๒.แบบฝึกหัดเติมคำคล้องจองที่หายไป
           ๓.แบบฝึกหัดโยงคำจากภาพที่มีคำคล้องจองกัน
           . วิดีโอเรื่องคำคล้องจอง
           ๕. PowerPoint อ่านคำคล้องจอง

แหล่งเรียนรู้
          ๑.ห้องเรียน
          . อินเตอร์เน็ต

เกณฑ์การวัด
          
เกณฑ์การประเมินการทำแบบทดสอบ
         ๑ . แบบทดสอบการอ่านคำจากบัตรคำที่คล้องจอง
                                -อ่านถูกต้อง คำละ  ๑  คะแนน  (คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน)
                                -ต่ำกว่า   ๕   คะแนน        ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
         ๒ .  แบบทดสอบเติมคำคล้องจองที่หายไป
                                -อ่านถูกต้อง คำละ  ๑  คะแนน  (คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน)
                                -ต่ำกว่า   ๕   คะแนน        ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
          ๓ . แบบทดสอบโยงคำจากภาพที่มีคำคล้องจองกัน
                                -อ่านถูกต้อง คำละ  ๑  คะแนน  (คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน)
                                -ต่ำกว่า   ๕   คะแนน        ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การผ่าน
 ๑ .  นักเรียนได้คะแนนในการทำแบบทดสอบทั้งสามมารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ  ๕๐ ของคะแนนเต็ม



วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว








ชื่อ  นางสาวปวีณา  ก๋าสม
ชื่อเล่น   เมย์            
รหัสนักศึกษา   53181010125
วันเกิด  17  มีนาคม  2535
ที่อยู่   38  หมู่  7  ต.วังทรายคำ   อ.วังเหนือ  จ.ลำปาง 
เบอร์โทร    086 - 0583145
จบจาก      โรงเรียนวังเหนือวิทยา
E -  mail    loveMay_paweena@hotmail.com
คติประจำใจ  อย่าพูดว่าทำไม่ได้  ถ้ายังไม่ได้ทำ